หลายๆครั้งมักมีคำถามจากเพื่อนๆสมาชิกเข้ามาว่า "เครนหรือปั้นจั่นสามารถนำมายกคนเพื่อปฏิบัติงานได้หรือไม่??"
เนื่องจากในบ้านเรามีความคิดเห็นที่หลากหลาย รวมถึงไม่ได้มีความชัดเจนจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายออกมาชี้แจง ฉะนั้นจึงขอยกตัวอย่างจากต่างประเทศที่มีกฎหมายและมาตรฐานระบุไว้ชัดเจน อย่างทาง OSHA ซึ่งได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ใน OSHA 29 CFR Part 1926.1431 Hoisting Personnel
โดยในข้อแรกคือ 1926.1431(a) ได้ระบุว่า ห้ามใช้อุปกรณ์ในการยกคนในลักษณะแขวนลอย เว้นแต่ว่า เมื่อนายจ้างพิจารณาแล้วว่า ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น บันได นั่งร้าน หรือ รถกระเช้าไฟฟ้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือการออกแบบโครงสร้าง ในการรองรับอุปกรณ์ต่างๆไม่เอื้ออำนวย
นั้นหมายความว่า OSHA ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ แต่เปิดช่องให้สามารถใช้ได้ถ้าจำเป็น นัันหมายถึงการนำ ปั้นจั่น/เครนไปยกคน ต้องเป็นตัวเลือกสุดท้าย ที่พิจารณาโดยนายจ้าง
ซึ่งทาง Crane Institute of America ได้นำกฎหมายดังกล่าวมากำหนดเป็นข้อปฏิบัติอย่างปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เมื่อต้องมีการ ใช้ กระเช้าที่แขวนกับปั้นจั่น/เครน (Crane Suspended Manbaskets) ดังนี้
1.เมื่อมีการปฏิบัติงานใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ปฏิบัติงาน ต้องมีการทำ Proof Test โดยมีพิกัด 125% ของค่าความสามารถในการรับน้ำหนักอย่างปลอดภัย โดยทำการยกค้างไว้ประมาณ 5 นาที
2.ต้องทำการ ทดลองยกที่หน้างานจริง (Trial Lift) ทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน หลังจากทำ Proof Test เสร็จแล้ว โดยต้องทำซ้ำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ ปั้นจั่น/เครน
3.ทำการตรวจสอบการผูกรัดของอุปกรณ์ช่วยยกต่างๆ สถาพความปลอดภัยของตัวกระเช้าและลวดสลิง รวมถึงการจัดเรียงสลิงในดรัมของปั้นจั่น/เครน โดยทำการยกชุดกระเช้าให้สูงจากพื้นประมาณ 1นิ้ว ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน
Admin: Chanvit L.
ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ.
Safety STOU
Comments