top of page

ผลการค้นหา

5 items found for ""

  • แผนการยก (lifting Plan)

    เห็นมีสมาชิกถามมาจากทางบ้านกันมาเยอะว่า มีตัวอย่าง Lifting Plan สำหรับงานยกง่ายๆไหม?? วันนี้เลยขอแชร์เอกสารสำหรับทำ Lifting plan สำหรับงานยกที่ไม่ได้ซับซ้อน ซึ่งเป็นเอกสารที่ผมใช้อยู่ กับอีกชุดได้รับความอนุเคราะห์จากพี่ประสงค์ แถวเนิน สมาชิกชมรมฯของเรา ซึ่งโดยปกติ ผมจะเขียนมือสำหรับภาพประกอบหากอยู่หน้างาน แต่หากมีเวลาจะใช้โปรแกรม KranExpert ช่วยสำหรับการจัดวางตำแหน่ง เครน และตำแหน่งสิ่งของที่จะยกรวมถึงจุดที่วาง ซึ่งเป็น Freeware พร้อมใช้งานได้ทันที ทั้งนี้หากท่านใด มีตัวอย่างอื่นๆที่อยากจะแชร์ ทักผมมาที่ Inbox ได้นะครับ สำหรับแผนการยกชุดนี้เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ในงานที่ไม่ซับซ้อน หากขาดตกบกพร่องประการใดโปรดช่วยแนะนำเพื่อการปรับปรุงด้วยครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆที่ต้องทำงานกับเครนครับผม หมายเหตุ: สำหรับ Ground Bearing Pressure หรือการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับตั้งเครน อาจไม่ได้ลงรายละเอียด ในการใช้งานจีิงควรติดต่อผู้รับผิดชอบ อย่างฝ่ายโยธา Admin: Chanvit L. ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. Safety STOU Link Download : https://drive.google.com/folderview?id=0Bw7wJwh1uhFLZW9QcS1pLXpCOVk

  • ถุงมือป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า

    กฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558 กำหนดให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น ถุงมือหนัง ถุงมือยาง ให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสวมใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้าที่เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้และต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ (1) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้า ต้องเหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในบริเวณที่ปฏิบัติงานหรือบริเวณใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ (2) ถุงมือยางป้องกันไฟฟ้า ต้องมีลักษณะสวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว (3) ถุงมือหนังที่ใช้สวมทับถุงมือยาง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือและมีความคงทนต่อการฉีกขาดได้ดี การใช้ถุงมือยางต้องใช้ร่วมกับถุงมือหนังทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน โดยมาตรฐานสากลที่กำหนดมาตรฐานสำหรับถุงมือกันกระแสไฟฟ้า เช่น NFPA 70E: Standard for Electrical Safety in the Workplace ได้กำหนดให้ถุงมือยางกันกระแสไฟฟ้ามีคุณสมบัติตาม ASTM D 120-09 Standard Specification for Rubber Insulating Gloves ซึ่งแบ่งถุงมือยางกันไฟฟ้าออกเป็น 6 ระดับ 00, 0, 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งผู้ใช้งานต้องเลือกให้เหมาะสมกับกระแสไฟฟ้าที่ต้องปฏิบัติงาน Admin: Chanvit L. ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. Safety STOU

  • มาตรฐานของถังดับเพลิง

    ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงการแบ่งประเภทของไฟ หรือ Fire class ซึ่งมาตรฐานของถังดับเพลิงมือถือ หรือ Fire extinguisher มี 3 มาตรฐานหลักๆ ที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ ดังนี้ 1. NFPA 10: Standard for Portable Fire Extinguishers ของอเมริกา 2. EN 3: Portable fire extinguishers ของยุโรป 3. AS 2444: Portable fire extinguishers and fire blankets ของออสเตรเลีย วันนี้เราจะมาดูในเรื่องของการบ่งชี้สีของถังดับเพลิงกันบ้าง โดยมาตรฐานที่กำหนดเรื่องสีของถังดับเพลิงอย่างชัดเจน มีอยู่ 2 มาตรฐาน คือ EN 3 และ AS 2444 เพื่อให้ผู้ใช้สามารถจำแนกได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ แต่ทั้ง 2 มาตรฐานก็ไม่ได้สอดคล้องกันทั้งหมด ฉะนั้นเมื่อต้องเดินทางไปปฏิบัติงานในประเทศที่ใช้มาตรฐานดังกล่าว หรือการนำเข้าถังดับเพลิงจากต่างประเทศจำเป็นต้องดูให้ดี ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. Safety STOU

  • การแบ่งประเภทของไฟ (Fire Class)

    การแบ่งประเภทของไฟ หรือ Fire class หลายๆท่านอาจเคยสงสัยว่าทำไมไฟจากน้ำมันพืชหรือการประกอบอาหารบางครั้งเรียกไฟประเภท K เจอบางถังเรียกไฟประเภท F วันนี้เลยทำตารางเปรียบเทียบมาตรฐานของถังดับเพลิงมือถือ หรือ Fire extinguisher ที่ได้มีการแบ่งประเภทของไฟ จาก 3 มาตรฐานหลักๆ ที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ ดังนี้ 1. NFPA 10: Standard for Portable Fire Extinguishers ของอเมริกา 2. EN 3: Portable fire extinguishers ของยุโรป 3. AS 2444: Portable fire extinguishers and fire blankets ของออสเตรเลีย แต่ต้องยอมรับว่าบ้านเราได้รับอิทธิพลของ อเมริกามากกว่าของค่ายอื่นๆ ทำให้เราคุ้นชินกับมาตรฐานของ NFPA มากกว่า แต่ก็มีบริษัทข้ามชาติจากยุโรปหลายๆบริษัท ที่อ้างอิงมาตรฐาน ของ EN หรือ AS ฉะนั้นจึงเป็นความจำเป็นที่ Safety อย่างเราๆ ที่จำเป็นต้องรู้ By Admin:Chanvit L. ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. Safety STOU

  • กระเช้ายกคนด้วยเครน (Man Basket)

    หลายๆครั้งมักมีคำถามจากเพื่อนๆสมาชิกเข้ามาว่า "เครนหรือปั้นจั่นสามารถนำมายกคนเพื่อปฏิบัติงานได้หรือไม่??" เนื่องจากในบ้านเรามีความคิดเห็นที่หลากหลาย รวมถึงไม่ได้มีความชัดเจนจากหน่วยงานที่กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายออกมาชี้แจง ฉะนั้นจึงขอยกตัวอย่างจากต่างประเทศที่มีกฎหมายและมาตรฐานระบุไว้ชัดเจน อย่างทาง OSHA ซึ่งได้มีการกำหนดเรื่องนี้ไว้ใน OSHA 29 CFR Part 1926.1431 Hoisting Personnel โดยในข้อแรกคือ 1926.1431(a) ได้ระบุว่า ห้ามใช้อุปกรณ์ในการยกคนในลักษณะแขวนลอย เว้นแต่ว่า เมื่อนายจ้างพิจารณาแล้วว่า ไม่สามารถใช้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น บันได นั่งร้าน หรือ รถกระเช้าไฟฟ้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายมากกว่า เพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือการออกแบบโครงสร้าง ในการรองรับอุปกรณ์ต่างๆไม่เอื้ออำนวย นั้นหมายความว่า OSHA ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ แต่เปิดช่องให้สามารถใช้ได้ถ้าจำเป็น นัันหมายถึงการนำ ปั้นจั่น/เครนไปยกคน ต้องเป็นตัวเลือกสุดท้าย ที่พิจารณาโดยนายจ้าง ซึ่งทาง Crane Institute of America ได้นำกฎหมายดังกล่าวมากำหนดเป็นข้อปฏิบัติอย่างปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เมื่อต้องมีการ ใช้ กระเช้าที่แขวนกับปั้นจั่น/เครน (Crane Suspended Manbaskets) ดังนี้ 1.เมื่อมีการปฏิบัติงานใหม่หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ปฏิบัติงาน ต้องมีการทำ Proof Test โดยมีพิกัด 125% ของค่าความสามารถในการรับน้ำหนักอย่างปลอดภัย โดยทำการยกค้างไว้ประมาณ 5 นาที 2.ต้องทำการ ทดลองยกที่หน้างานจริง (Trial Lift) ทุกครั้งก่อนเริ่มปฏิบัติงาน หลังจากทำ Proof Test เสร็จแล้ว โดยต้องทำซ้ำเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของ ปั้นจั่น/เครน 3.ทำการตรวจสอบการผูกรัดของอุปกรณ์ช่วยยกต่างๆ สถาพความปลอดภัยของตัวกระเช้าและลวดสลิง รวมถึงการจัดเรียงสลิงในดรัมของปั้นจั่น/เครน โดยทำการยกชุดกระเช้าให้สูงจากพื้นประมาณ 1นิ้ว ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน Admin: Chanvit L. ชมรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มสธ. Safety STOU

bottom of page